วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

immcal


Creating IMMCAI Package

IMMCAI คือ Interactive MultiMedia Computer Assisted Instruction เป็นงานพัฒนา วิจัยที่ได้รับความสนใจมากจากนักวิชาการ นักการศึกษา นักฝึกอบรม นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และนักธุรกิจทั่วไปด้วยงานพัฒนาทาง IMMCAI จะมีบทบาทสำคัญมาก ในการพัฒนาความรู้ของมนุษย์แบบทางไกล แบบอิสระบนทางด่วนข้อมูล (Internet) จะทำให้การพัฒนาความรอบรู้ของมนุษย์แบบไม่จำกัดเวลา สถานที่และวัยของผู้เรียน รวมทั้งไม่จำกัดภาษา หรือประเทศ ระยะทางไกล ใกล้ จะไม่เป็นอุปสรรค์ในการเรียนรู้อีกต่อไป IMMCAI บนทางด่วนข้อมูลจะทำให้ทุกอย่างเป็นจริงได้
CAI คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอน ใช้เสริมการสอนขณะที่สอนในห้องเรียนใช้เสริมการเรียนรู้ในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน ทั้งทางไกลและทางใกล้ สามารถสอนความรู้ใหม่ และสอนซ่อมเสริมความรู้ที่เรียนมาแล้ว เป็นต้น

ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สามารถจะแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ รวม 8 ประเภทดังนี้
1. Instruction
        แบบการสอน เพื่อใช้สอนความรู้ใหม่แทนครู ซึ่งจะเป็นการพัฒนาแบบ Self Study Package เป็นรูปแบบของการศึกษาด้วยตนเองจะเป็นชุดการสอนที่จะต้องใช้ความระมัดระวัง และทักษะในการพัฒนาที่สูงมาก เพราะจะยากเป็นทวีคูณกว่าการพัฒนาชุดการสอนแบบโมดูล หรือแบบโปรแกรมที่เป็นตำรา ซึ่งคาดว่าจะมีบาทบาทมากในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเฉพาะ IMMCAI Internet
2. Tutorial
        แบบสอนซ่อมเสริม หรือทบทวน เป็นบทเรียนเพื่อทบทวนการเรียนจากห้องเรียน หรือจากผู้สอน โดยวิธีใด ๆ จากทางไกลหรือทางใกล้ก็ตาม การเรียนมักจะไม่ใช้ความรู้ใหม่หากแต่จะเป็นความรู้ที่ได้เคยรับมาแล้วในรูปแบบอื่น ๆ แล้วใช้บทเรียนซ่อมเสริมเพื่อตอกย้ำความเข้าใจที่ถูกต้อง และสมบูรณ์ดีขึ้น สามารถใช้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
3. Drill and Practice
     แบบฝึกหัด และควรจะมีการติดตามผล (Follow up) เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาครั้งต่อ ๆ ไป จากขั้นตอนและฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เสริมการปฏิบัติหรือเสริมทักษะการกระทำบางอย่างให้เข้าใจยิ่งขึ้น และเกิดทักษะที่ต้องการได้ เป็นการเสริมประสิทธิผลการเรียนของผู้เรียนสามารถใช้ในห้องเรียนเสริมขณะที่สอนหรือนอกห้องเรียน ที่ใดเวลาใด ก็ได้ สามารถใช้ฝึกหัดทั้งทางด้านทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมทั้งทางช่างอุตสาหกรรมด้วย
4. Simulation
     แบบสร้างสถานการณ์จำลอง เพื่อใช้สำหรับการเรียนรู้ หรือทดลองจากสภาพการณ์จำลองจากสถานการณ์จริง ซึ่งอาจจะหาไม่ได้หรืออยู่ไกลไม่สามารถนำเข้ามาในห้องเรียนได้ หรือมีสภาพอันตราย หรืออาจสิ้นเปลืองมากที่ต้องใช้ของจริงซ้ำ ๆ สามารถใช้สาธิตประกอบการสอนใช้เสริมการสอนในห้องเรียน หรือใช้ซ่อมเสริมภายหลังการเรียนนอกห้องเรียน ที่ใด เวลาใด ก็ได้
5. Games
     แบบสร้างเป็นเกมส์ การเรียนรู้บางเรื่องบางระดับบางครั้งการพัฒนาเป็นลักษณะเกมส์สามารถเสริมการเรียนรู้ได้ดีกว่าการใช้เกมส์เพื่อการเรียน สามารถใช้สำหรับเรียนรู้ความรู้ใหม่หรือเสริมการเรียนในห้องเรียนก็ได้ รวมทั้งสามารถสอนทดแทนครูในบางเรื่องได้ด้วยจะเป็นการเรียนรู้จากความเพลิดเพลินเหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีระยะเวลาความสนใจสั้น เช่นเด็ก หรือในภาวะสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย เป็นต้น
6. Probllem Solving
        แบบการแก้ปัญหา เป็นการฝึกการคิดการตัดสินใจ สามารถใช้กับวิชาการต่าง ๆ ที่ต้องการให้สามารถคิดแก้ปัญหา ใช้เพื่อเสริมการสอนในห้องเรียนหรือใช้ในการฝึกทั่ว ๆ ไป นอกห้องเรียนก็ได้เป็นสื่อสำหรับการฝึกผู้บริหารได้ดี
7. Test
      แบบทดสอบ เพื่อใช้สำหรับตรวจวัดความสามารถของผู้เรียนสามารถใช้ประกอบการสอนในห้องเรียน หรือใช้ตามความต้องการของครู  หรือของผู้เรียนเอง รวมทั้งสามารถใช้นอกห้องเรียนสามารถใช้วัดความสามารถของตนเองได้ด้วย
8. Discovery
      แบบสร้างสถานการณ์ เพื่อให้ค้นพบเป็นการจัดทำเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง
โดยการลองผิดลองถูก หรือเป็นการจัดระบบนำล่อง เพื่อชี้นำสู่การเรียนรู้สามารถใช้เรียนรู้ความรู้ใหม่ หรือเป็นการทบทวนความรู้เดิม และใช้ประกอบการสอนในห้องเรียน หรือการเรียนนอกห้องเรียน สถานที่ใด เวลาใด ก็ได้
การพัฒนาบทเรียน CAI
 ในการพัฒนาบทเรียน CAI ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบทเรียนรูปแบบใด เริ่มจากหัวเรื่อง เป้าหมายที่กำหนด วัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ ที่กำกับมาด้วย การพัฒนาควรจะดำเนินได้เป็น 5 ขั้นตอน คือ
        1. วิเคราะห์ (Analysis)
        2. ออกแบบ (Design)

               3. พัฒนา (Development)
               4. สร้าง (Implementation)
               5. ประเมินผล (Evaluation)
        จากนั้น ก็นำออกเผยแพร่ (Publication) การสร้างบทเรียน CAI ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การจัดทำ CAI นี้เป็นเรื่องที่ง่ายมาก ๆ ซึ่งหมายความว่าใคร ๆ ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ก็สามารถจะสร้าง CAI ได้ การกล่าวเช่นนี้จะจริงเท็จอย่างไร ใครทำใครก็รู้ ในที่นี้จะกำหนดขั้นตอนการพัฒนา IMMCAI ไว้ทั้งหมด 16 ขั้นตอน เพื่อสะดวกกับผู้เริ่มต้นที่จะสนใจพัฒนาบทเรียน IMMCAI
ทีมพัฒนาบทเรียน CAI
 ในการพัฒนาบทเรียน CAI ให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนได้นั้น จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาด้วยกันดังต่อไปนี้

                1. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา (Content Expert)
                2. นักการศึกษา (Educator)
                3. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านมัลติมีเดียเทคโนโลยี (Multimedia Technology Expert)
                4. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น